Uncategorized

เทรนด์ใหม่ของคนยุคนี้ “Second Screen” จอที่ 2 กับการดูทีวีที่เปลี่ยนไป

second-screen-vizio-tv-ipad3-750x375

เมื่อ Social Network เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ตื่นนอนยันเข้านอน สมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต กลายเป็นจอที่พกติดตัวผู้ใช้ตลอดเวลา แม้กระทั่งเวลาเข้าห้องน้ำ และสิ่งที่เปลี่ยนแปลงของโลกการรับชมคือ จอที่ 2 ที่เราใช้งาน นอกเหนือไปจากการเปิดโทรทัศน์

ตอนนี้จอที่ 2 กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว พฤติกรรมที่สายตาหนึ่งจดจ้องบนจอโทรทัศน์ แต่อีกสายตาก็เหลือบไปเพ่งความสนใจบนคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟนและแท็ปเล็ต ทำให้การรับชมรายการโทรทัศน์เปลี่ยนแปลงไป ผู้ชมไม่ได้นั่งเฝ้าหน้าจอแล้วดูทีวีพร้อมพูดคุยกับสมาชิกในบ้าน แต่พูดคุยกับเพื่อนๆ แสดงความคิดเห็น หรือแม้แต่ใส่อารมณ์ที่อินละครหรือบทสนทนาในรายการทอล์คโชว์ผ่าน Social Network แทน

ข้อมูลจาก Viaccess-Orca ได้สำรวจพฤติกรรมการใช้งานจอที่ 2 ในขณะรับชมรายการโทรทัศน์ โดยผู้ชมรายการ 70% ใช้แท็ปเล็ต รองลงมา 68% เป็นผู้ใช้สมาร์ทโฟน และสังเกตได้ว่า 37% ของผู้ชมรายการ ใช้จอที่ 2 เพื่อค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรายการโทรทัศน์ที่ตนกำลังรับชม แต่ผู้ชมส่วนใหญ่ใช้จอที่ 2 เพื่อเช็คอีเมลหรือเข้าใช้งาน social network ขณะรับชมรายการโทรทัศน์

ยุคใหม่ของการรับชม ตอนนี้เราปฏิเสธไม่ได้ว่า แม้เราจะรับชมรายการโทรทัศน์อยู่ที่บ้าน แต่เราก็มักจะพิมพ์เพื่อแสดงความคิดเห็น โพสสถานะบน Social Network ที่เรามี ผ่านคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือแท็ปเล็ต ไม่ว่าจะเป็นการทวิตขณะเชียร์กีฬา เพื่อเชียร์ทีมในดวงใจของเรา หรือการโพสแสดงความรู้สึกกับแขกรับเชิญ ขณะที่เราดูรายการทอล์คโชว์ทางโทรทัศน์ รวมไปถึงการติดแท็กบน twitter เพื่อดูว่าคนอื่นๆ ที่รับชมรายการเดียวกับเรา มีความรู้สึกและความคิดเห็นอย่างไร และที่เห็นได้ชัดคือ ขณะที่มีการฉายละครเรื่อง แรงเงา ที่ผู้ชมละครก็จะโพสข้อความบน Social Media ของตนไปพร้อมๆ กับการรับชมรายการโทรทัศน์แบบเรียลไทม์จนติดอันดับหนึ่งของแท็กบน twitter ที่มีการพูดในในวันที่ละครฉาย หรือในช่วงของการแข่งขัน The Voice ก็จะมีการเชียร์และโพสบรรยายเป็นตัวอักษรไปพร้อมๆกับการรับชม ทำให้ผู้ที่ไม่ได้เปิดทีวีรับชมรายการ ณ ขณะนั้น ได้ติดตาม หากสนใจเนื้อหาจึงเปิดทีวีดูตามไปด้วย พร้อมแสดงความคิดเห็นผ่าน Social Network ของตนเอง

จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้เทรนด์จอที่ 2 กลายเป็นประเด็นที่ผู้ผลิตรายการ หรือแม้แต่นักโฆษณาต้องจับตา ทางฝั่งผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ก็สามารถตรวจสอบได้ว่า ผู้ชมมีกระแสความคิดเห็นกับแขกรับเชิญในแนวทางใด หรือแม้แต่การวัดเรตติ้งรายการ หรือแม้แต่พิธีกรเองก็เช็กเรตติ้งตนเองได้จากสถานะบน Social Network ต่างๆ ว่าควรจะปรับปรุงตนเองอย่างไรบ้าง รวมไปถึงนักโฆษณาก็สามารถนำพฤติกรรมการโพสของผู้ชมไปวิเคราะห์การประชาสัมพันธ์ในรายการได้

นอกจากการโพสสถานะบน Social Network แล้ว ยังมีอีกบริการที่เรียกว่า Social TV อย่างเช่นบริการยอดฮิต “GetGlue” ให้คุณเช็กอินรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เพลงที่คุณชื่นชอบ แสดงความคิดเห็นในขณะที่เราดูหรือฟังสื่อบันเทิงนั้นๆ อยู่ หรือแม้ติ่จารณ์ภาพยนตร์หรือซีรีส์ ซึ่งก็เป็นอีกกิจกรรมบนหน้าจอที่สองบนแอพในสมาร์ทโฟน

Source : It24hrs

ใส่ความเห็น